ประวัติความเป็นมา |
ตำบลทุ่งลูกนก จัดตั้งขึ้นเมื่อประมาณปีพ.ศ. 2493 เป็นส่วนหนึ่งของอำเภอกำแพงแสน สภาพเป็นทุ่งกว้าง |
![]() |
วิสัยทัศน์ และ พันธกิจ |
องค์การบริหารส่วนตําบลทุ่งลูกนก ได้กําหนดวิสัยทัศน์การพัฒนา ดังนี้ “ มุ่งพัฒนาการศึกษา นำพาชุมชนเข้มแข็ง รักษาแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ สู่เศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ”
|
จำนวนหมู่บ้านและประชากร | วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 19 มีนาคม 2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
สถาพทั่วไป ลักษณะภูมิประเทศ |
สภาพภูมิประเทศโดยรวม จะเป็นที่ดอนและที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การเพาะปลูก และเลี้ยงสัตว์ ที่ตั้ง องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งลูกนกตั้งอยู่ เลขที่ 109 หมู่ที่ 13 บ้านนาแค ตำบลทุ่งลูกนก อ.กำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ห่างจากที่ว่าการอำเภอกำแพงแสน 13 กิโลเมตร (ถนนกำแพงแสน - พระแท่นดงรัง) แบ่งเขตการปกครองท้องที่เป็น 23 หมู่บ้าน เนื้อที่ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งลูกนก มีเนื้อที่ในเขตรับผิดชอบประมาณ 73.176 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 45,738 ไร่ เขตพื้นที่ - ทิศเหนือ ติดต่อ กับ ตําบลกระตีบ อําเภอกําแพงแสน จังหวัด นครปฐม และ ตําบลบ่อสุพรรณ อําเภอสองพี่น้อง จังหวัด สุพรรณบุรี
- ทิศใต้ ติดต่อ กับ ตําบลห้วยหมอนทอง อําเภอกําแพงแสน จัง วัด นครปฐม และ ตําบลกรับใหญ่ อําเภอบ้านโป่ง จังหวัด ราชบุรี
- ทิศตะวันออก ติดต่อ กับ ตำบลทุ่งบัว และ ตำบลรางพิกุล อําเภอกําแพงแสน จังหวัด นครปฐม
- ทิศตะวันตก ติดต่อ กับ ตําบลหนองกระทุ่ม อําเภอกําแพงแสน จังหวัด นครปฐม และ ตําบลสนามแย้ อําเภอท่ามะกา จังหวัด กาญจนบุรี
|
การเมืองการปกครอง |
อำนาจหน้าที่
พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537
แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2562
ส่วนที่ 3
อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล
---------------------
มาตรา 66 องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
มาตรา 67 ภายใต้บังคับแห่งกฏหมาย องค์การบริหารส่วนตำบล มีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก
(1/1) รักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย การดูแลการจราจร และส่งเสริมสนับสนุนหน่วยงานอื่น ในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว
(2) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
(3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
(4) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(5) จัดการ ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรมและการฝึกอบรม ให้แก่ประชาชน รวมทั้งการจัดการหรือสนับสนุนการดูแลและพัฒนาเด็กเล็กตามแนวทางที่เสนอแนะ จากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ”
(6) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
(7) คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(8) บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
(9) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากรให้ตามความจำเป็นและสมควร
มาตรา 68 ภายใต้บังคับแห่งกฏหมาย องค์การบริหารส่วนตำบลอาจจัดทำกิจการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้
(1) ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร
(2) ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
(3) ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ
(4) ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ
(5) ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์
(6) ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว
(7) บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร
(8) การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
(9) หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบล
(10) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม
(11) กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์
(12) การท่องเที่ยว
(13) การผังเมือง
มาตรา 69 อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลตามมาตรา 66 มาตรา 67 และมาตรา 68 นั้น ไม่เป็นการตัดอำนาจหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรม หรือองค์การหรือหน่วยงานของรัฐในอันที่จะดำเนินกิจการใดๆ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในตำบล แต่ต้องแจ้งให้องค์การบริหารส่วนตำบลทราบล่วงหน้าตามสมควรในกรณีนี้หากองค์การบริหารส่วนตำบลมีความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินกิจการดังกล่าว ให้กระทรวง ทบวง กรม หรือองค์การ หรือหน่วยงานของรัฐ นำความเห็นขององค์การบริหารส่วนตำบลไปประกอบการพิจารณาดำเนินกิจการนั้นด้วย
มาตรา 69/1 การปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน โดยใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล การจัดทำงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจสอบ การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการนั้นและหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
|
สภาพทางเศรษฐกิจ และ สังคม |
อาชีพ ส่วนใหญ่ประชากรในตําบลทุ่งลูกนก ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และเลี้ยงสัตว์ พืชที่ปลูกได้แก่ ข้าวโพดฝักอ่อน อ้อย และไม้ประดับ เช่น กุหลาบ ไม้ผล ได้แก่ องุ่น มะม่วง มะเฟือง สัตว์ที่เลี้ยง ได้แก่ โค นม สุกร เป็ด และไก่ (ในหมู่ที่ 6 บ้านทุ่งกระถิ่นจะเลี้ยงโคนมกันเกือบทั้งหมู่บ้าน) หน่วยธุรกิจ - ปั๊มนํ้ามันและก๊าซ 1 แห่ง ได้แก่ ปั๊มนํ้ามันห้วยกระบอกศิริถาวร หมู่ที่ 9 - โรงงานอุตสาหกรรม 11 แห่ง ได้แก่
1. หจก.ลองเทิมเทรดดิ้ง หมู่ที่ 4
2. บริษัท ปุ๋ยพรีเมียมคอมปาวด์ หมู่ที่ 4
3. บริษัท แม๊กซาโก้ จํากัด หมู่ที่ 4
4. บริษัท มิลเลนเนียม จํากัด หมู่ที่ 4
5. บริษัท กําแพงแสนอโกรเทค จํากัด หมู่ที่ 4
6. บริษัท กระเบื้องพันปี จํากัด หมู่ที่ 4
7. บริษัท ฟ๊อกซ์ฟอร์มูเลท จํากัด หมู่ที่ 4
8. บริษัท เจ.ซี.พี. จํากัด หมู่ที่ 5
9. บริษัท ฟาสต์มิกซ์ จํากัด หมู่ที่ 1
10. บริษัท ที. ทรอปิโค จํากัด หมู่ที่ 13
11. หจก.ไทยวุฒิพงษ์คอนกรีต หมู่ที่ 1
- โรงสี 1 แห่ง
|
สภาพทางการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม |
การศึกษา โรงเรียนประถมศึกษา จํานวน 8 แห่ง ได้แก่
1. โรงเรียนบ้านหนองกร่าง หมู่ที่ 3 โรงเรียนมัธยมศึกษา จํานวน 2 แห่ง ได้แก่
1. โรงเรียนวัดหนองศาลา หมู่ที่ 22 ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจําหมู่บ้าน/ห้องสมุดประชาชน จํานวน 5 แห่ง สถาบันและองค์กรทางศาสนา วัด/สํานักสงฆ์ จํานวน 7 แห่ง ได้แก่
1. วัดหนองศาลา หมู่ที่ 22 ศาลเจ้า 1 แห่ง ได้แก่ 1. ศาลเจ้าเง็กฮ้วงใต้ตี่ โบสถ์คริสต์ 2 แห่ง ได้แก่
1. โบสถ์นักบุญมัธทิว |
การบริการพื้นที่ และ ทรัพยากรธรรมชาติ |
ด้านสาธารณสุข
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลสิทธิชัยวิศาล หมู่ที่ 9 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- ที่ทําการสายตรวจตําบล 2 แห่ง ตั้งอยู่ที่บ้านหนองกร่าง หมู่ที่ 3 และบ้านไร่แตงทอง หมู่ที่ 15 ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่
- บ่อทราย มีในหมู่ที่ 1, 4, 5, 11, 17 แหล่งน้ำธรรมชาติ ลำน้ำ , ลำห้วย 1 สาย (คลองท่าสาร - บางปลา) แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น บ่อโยก 1 แห่ง คลองชลประทาน 3 แห่ง บ่อน้ำบาดาล มีทุกหมู่บ้าน ,ระบบประปาหมู่บ้าน 63 แห่ง |